ด้านความเป็นครู

คุณลักษณะครูที่ดี




คุณลักษณะครูที่ดี
เหนือสิ่งอื่นใด  ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งพระราชทานแก่ครูอาวุโส  ประจำปีพุทธศักราช  2522  เมื่อวันอังคารที่  28  ตุลาคม  ..2523  (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา,  2541)  มีข้อความเกี่ยวข้องกับลักษณะครูที่ดีตอนหนึ่งว่า 
ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่กระทำแต่ความดี  คือ 
-          ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร
-          ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ 
-          ต้องหนักแน่น  อดทน  อดกลั้น
-          ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม 
-          ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย  และความสนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน
-            ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ 
-          ต้องรักษาความซื่อสัตย์  รักษาความจริงใจ 
-          ต้องมีเมตตา  และหวังดี 
-          ต้องวางใจเป็นกลาง  ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ 
-          ต้องมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ  และความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล” 








      คุณลักษณะที่ดีของครู  หมายถึง เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดี  หรือลักษณะที่ดีของครูและเป็นลักษณะที่ต้องการของสังคม
                ลักษณะครู ที่ดี ควรมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ มีความเสียสละ หมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความเข้าใจและเอาใจใส่ตัวศิษย์ทุกคน เป็นกำลังใจและช่วยสร้างแรงบัลดาลใจให้กับศิษย์เพื่อให้เขาเป็นคนใฝ่เรียนรู้ เป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู มีจิตวิญญาณของความเป็นครู สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี  มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความยุติธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคนด้วย
คุณลักษณะครูที่ดี
1.ลักษณะครูที่ดีจากผลการวิจัย

·             กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ได้ทำการวิจัยเรื่องของครูที่ดีโดยการสอบถามจากบุคคลหลายฝ่าย คือ นักเรียน ครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ และผู้ปกครอง ใช้เวลาในการวิจัย พ.ศ.2518 – พ.ศ.2520  : ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ทำการวิจัยเรื่องลักษณะของครูที่ดีที่ได้กระทำในวงกว้าง ผลจากการวิจัยลักษณะของครูที่ดี สรุปผลได้ดังนี้ (กรมการฝึกหัดครู 2520 : 363 – 371 )
1.ด้านคุณธรรมและความประพฤติ ได้แก่ ความเที่ยงธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต การตรงต่อเวลา ร่าเริงแจ่มใส รู้จักเสียสละ วาจาสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองกับเด็ก และเข้ากับเด็กได้ เป็นตัวอย่างในการประพฤติดี มีมนุษยสัมพันธ์ แต่งกายเรียบร้อย  มีบุคลิกลักษณะที่ดี  มีวาจาสุภาพอ่อนโยนเว้นจากอบายมุขต่างๆ ไม่ทำตัวเสเพล มีระเบียบวินัย อารมณ์มั่นคง มีความปรานี รู้จักปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นคนมีเหตุผล รู้จักสิทธิและหน้าที่
2 ด้านความยึดมั่นในสัญชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นหลักสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นครูที่ให้การศึกษาแก่อนุชนของชาติ ให้มีความรักและห่วงแหนในสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของความเป็นไทย
3 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน รู้จักเตรียมการสอนเพื่อให้การสอนและการเรียนของนักเรียนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการเอาใจใส่การสอน อบรมความประฟฤติและปลูกฝั่งค่านิยมดีงามให้แก่นักเรียน มีความขยันขันแข็ง มีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีความศรัทธาต่ออาชีพครู อุทิศตัวเพื่อราชการ มีสุขภาพทางกายและจิตใจที่ดี รู้จักติดต่อกับผู้ปกครอง และพยายามเข้าใจเด็ก
4 ความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสาร รู้จักหลักการพูด การอภิปรายบทเรียนแจ่มชัด รู้จักใช้ภาษาถูกต้อง
5 เอาใจใส่ค้นคว้าความรู้อยู่เสมอ รู้และตามความเคลื่อนไหวทางการศึกษาอยู่เสมอโดยเฉพาะแผนการศึกษาแห่งชาติและหลักสูตร รู้จักปรับวิธีการสอนแบบใหม่และเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
การเป็นครูสอนให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  คือ ความรู้คู่คุณธรรมมิใช่เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย การเป็นครูที่ดีต้องอาศัยความอดทน เสียสละ มีเมตตา ซึ่งเป็นคุณสมบัติเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นครูที่ดี คุณลักษณะของครูที่ดีมีหลายประการ ซึ่งจะได้นำมากล่าวถึงลักษณะของครูที่ดีตามคำสอนในพุทธศาสนา ลักษณะของครูที่ดี 



·     จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะครูดีในประเทศไทยของนักการศึกษาหลายท่าน
ดิเรก  พรสีมา  และคณะ  (2543)  พบว่าครูที่ดีควรมีลักษณะที่จำเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1.  ด้านคุณลักษณะ
1.1  ต้องมีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู  และพร้อมที่จะพัฒนาวิชาชีพของตนอยู่เสมอ
1.2  ประพฤติตนเป็นแบบอย่างแก่ผู้เรียนทั้งด้าน  ศีลธรรม  วัฒนธรรม  กิจนิสัย  สุขนิสัย  และอุปนิสัย  มีความเป็นประชาธิปไตย
1.3  ใฝ่หาความรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
1.4  มีความเมตตาแก่ศิษย์  และเห็นคุณค่าของศิษย์
1.5  มีสุขภาพสมบูรณ์
1.6  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการสามารถใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์  เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง    ได้
1.7  มีบทบาทในการพัฒนาชุมชน  สามารถเป็นผู้นำชุมชนได้
1.8  ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  ภาษา  และการวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง
1.9  สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นครูแบบใหม่ในระบบสากลได้  คือ  การรู้ในวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น  มีความหลากหลายเพื่อตอบสนอง    ผู้เรียนเป็นหลัก  สามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ  และสร้างสรรค์ข้อมูลสะท้อนกลับสู่       ผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งเป็นครูที่เข้าหาผู้เรียนและชุมชนได้มากขึ้น
2.  ด้านความรู้ของครู
2.1  ครูต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างแท้จริง  สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีในศาสตร์ความรู้มาสู่การปฏิบัติได้  ทั้งการปฏิบัติในระดับสากลและในระดับท้องถิ่น
2.2  มีความรู้ด้านการวิจัย  วิทยาการคอมพิวเตอร์  และภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
2.3  มีความรู้เรื่องเทคนิคการสอน  จิตวิทยา  การวัดผลและประเมินผล  และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2.4  รู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัว  และเรื่องราวในท้องถิ่น  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และฝึกผู้เรียนคิดวิเคราะห์วิจารณ์ได้
3.  ด้านการถ่ายทอดของครู
                3.1  สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนต่าง    เพื่อจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าสนใจ  ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้นั้นสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ต่อไปได้
                3.2  สามารถอบรมนิสัยให้ผู้เรียนมีศีลธรรม  วัฒนธรรม  กิจนิสัย  สุขนิสัย  และอุปนิสัยรวมทั้งรักในความเป็นประชาธิปไตย  เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
                3.3  สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนใฝ่รู้  ก้าวทันเทคโนโลยี  ตลอดจนสามารถใช้ภาษาสื่อสารกันได้เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และสามารถใช้เครื่องมือต่าง    ในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
                3.4  สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมองกว้าง  คิดไกล  และมีวิจารณญาณที่จะวิเคราะห์และเลือกใช้ข่าวสารข้อมูลให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้
                3.5  พัฒนาผู้เรียนเรียนรู้เรื่องราวต่าง    ของชุมชน  สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาชุมชน  และแก้ปัญหาต่าง    ในชุมชนได้
สรุปได้ว่าครูดีจะต้องมีคุณลักษณะที่ดีทั้งใจคือมีความศรัทธาในวิชาชีพครู  มีจิตใจเมตตา  มีศีลธรรม  และกายที่ดี  คือมีสุขภาพสมบูรณ์  พัฒนาตัวเองให้ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในปัจจุบัน  พร้อมทั้งพัฒนานักเรียนให้รู้และใช้เครื่องมือต่าง    ในการแสวงหาความรู้ให้ตัวเองได้  ครูต้องเข้าใจชุมชน และเข้าหาชุมชนมากขึ้น  และสามารถให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้พัฒนา  และแก้ปัญหาของชุมชนได้

·             คณะกรรมการส่งเสริมวิชาชีพครูได้กำหนดว่าบุคคลที่ประกอบวิชาชีพครูควรมีความรักความเมตตาและความปรารถนาดี มีความเสียสละและอุทิศตนและเวลาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการในทุกด้าน ทั้งควรมีลักษณะอย่างน้อย 4 ประการ คือ 1 รอบรู้ 2 สอนดี 3 มีคุณธรรม จรรยาบรรณ 4 มุ่งมั่นพัฒนา
                1 รอบรู้ คือ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่เกิดขึ้นในสังคมของตนและของโลก มีความรอบรู้ในวิชาชีพของตน เช่น ปรัญญาการศึกษา ประวัติการศึกษา หลักการศึกษานโยบายการศึกษา แผนและโครงการพัฒนาการศึกษา และจะต้องมีความรู้อย่างเชี่ยวชาญในเรื่องหลักสูตร วิธีสอนและวิธีประเมินผลการศึกษาในวิชาชีพ หรือกิจการที่ตนรับผิดชอบ
                2 สอนดี คือ จะต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถ และความสนใจของนักเรียน อีกทั้งสามารถให้บริการแนะแนวในด้านการเรียนการครองตนและการรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสถานะการของบ้านเมือง
                3 มีคุณธรรมจรรยาบรรณ คือ มีศรัทธาในวิชาชีพครู ตั้งใจใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพเพื่อให้บริการแก่นักเรียนและสังคม มีความซื่อสัตย์ต่อหลักการของอาชีพครูมีความรับผิดชอบในด้านการศึกษาต่อสังคม ชุมชน และนักเรียน มีความรัก ความเมตตาและความปรารถนาดีต่อนักเรียน อุทิศตนและเวลาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับความเจริญเติบโตและพัฒนาการในทุกด้าน
                4 มุ่งมั่นพัฒนา คือ รู้จักสำรวจและปรับปรุงตนเอง สนใจใฝ่รู้ และศึกษาหาความรู้ต่างๆ รู้จักเพิ่มพูนวิทยฐานะของตน คิดค้นและทดลองใช้วิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนด้วย
               
2.ลักษณะครูที่ดีในทัศนะ
§                   ในทัศนะของครูที่ดีซึ่ง ส. ศิวรัตน์ (2516: 26-42) ดังกล่าวถึงลักษณะของครูไทยในอุดมคติไว้ดังนี้
                1 รู้วิชาที่ตนสอนเป็นอย่างดี
                2 ส่งเสริมให้นักเรียนสนใจการเรียน
                3 ชอบวิชาที่ตนสอน
                4 มีความจำดีพอสมควร
                5 มีความรับผิดชอบงาน
§                   จากทัศนะของบุคคลต่างๆ ที่กล่าวถึงลักษณะของครูที่ดีจึงสรุปได้ว่า ลักษณะของครูที่ดีมีดังนี้
                1 ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของคนทั่วไป
                2 เป็นคนตรงต่อเวลา
                3 การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                4 บุคลิกภาพดี และการวางตัวดีรู้จักกาลเทศะ
                5 การเป็นผู้มีเหตุผล
                6 เป็นผู้ทีเมตตา
                7 เป็นผู้มีความรู้ดี มั่นศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
                8 เป็นผู้มีความเสียสละ และจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น
                9 เป็นผู้รู้จักเสียสละ
                10 รู้จักดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร
                11 มีความขยันหมั่นเพียร ที่ทำงานในทางสุจริต
                12 มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
                13 มีความรับผิดชอบ
                14 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                15 มีความยุติธรรม
                16 ยึดมั่นในการทำความดีด้วยกาย วาจา และใจ
                17 ส่งเสริมในค่านิยมที่ถูกต้องและดีงาม
                18 เป็นครูที่พร้อมด้วย ภูมิความรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน
                19 มีความมั่นคงทางอารมณ์
                20 ทำหน้าที่สอนให้ลูกศิษย์เป็นคนดีมีความรู้ และคุณธรรม
                การสอนที่ได้ผลและเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่แท้จริงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ค่านิยม ทัศนะคติของผู้เรียนในทางสร้างสรรค์ที่สังคมปรารถนา รู้จักตนเอง รู้จักชีวิต รู้จักนำความรู้ความเข้าใจและช่วยแก้ปัญหา และเสริมสร้างชีวิตของตนและสังคมให้ดีขึ้น

อ้างอิงweb.aru.ac.th/thani/images/lesson4.doc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น